วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2565

กษัตริย์รัสเซียล่ม


คอมฯ โค่นล้มระบอบกษัตริย์ 



ในอดีตจักรวรรดิรัสเซีย ได้ปกครองในระบบกษัตริย์มาเป็นเวลานาน จนกระทั่งได้มาสิ้นสุดในปี 1917 ในยุคของ "จักรพรรดินิโคลัสที่ 2" หรือ "พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2"
ภายใต้การปกครองของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้น มีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้พระองค์เสื่อมความนิยมลง เช่น
แพ้สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น อย่างน่าขายหน้า หรือ อนุมัติการระดมพลรัสเซียที่เป็นจุดเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้มีชาวรัสเซียเสียชีวิตไป 3.3 ล้านคน เป็นต้น
จักรวรรดิรัสเซียจากที่เคยรุ่งเรืองเป็นหนึ่งในมหาอำนาจชั้นนำของโลก กลับกลายเป็นประเทศที่ล่มสลายทางเศรษฐกิจและทหาร
ศัตรูการเมืองให้สมญาพระองค์ว่า นิโคลัสกระหายเลือด จากเหตุการณ์วันอาทิตย์นองเลือด ซึ่งเป็นการปราบปรามการปฏิวัติอย่างรุนแรงในปี 1905 จบด้วยประหารชีวิตศัตรูทางการเมือง
จนกระทั่งในปี 1917 ก็มาถึงขั้นแตกหัก เมื่อประชาชนหลายแสนคนเข้าชุมนุมประท้วง กรุงเปโตรกราด (เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ในปัจจุบัน) กลายเป็นสมรภูมิขนาดย่อม ที่ผู้ชุมนุมเข้าปะทะกับตำรวจ
ซึ่งต่อมารัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ตำรวจถูกจับไปสังหารคนแล้วคนเล่าและในช่วงท้าย ทหารผู้น้อยเริ่มไม่ปฏิบัติคำสั่งให้ปราบผู้ชุมนุมนุม และได้สังหารผู้บังคับบัญชาเข้าร่วมการปฏิวัติ สถานการณ์จึงแย่ลงไปอีก
วันที่ 13 มีนาคม กรุงเปโตรกราด ตกเป็นของมวลชนโดยสมบูรณ์ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 จึงพยายามจะเดินทางกลับวัง แต่ก็ถูกหยุดไว้โดยแม่ทัพ นิโคไล รัซสกี้ ที่เป็นตัวแทนประธานสภา มาแจ้งให้พระองค์ทรงสละบัลลังก์ให้พระโอรสองค์เล็ก อเล็กเซย์ หวังให้มวลชนยอมรับ
แต่ด้วยการที่พระโอรสองค์เล็กมีอาการป่วย พระองค์จึงเลือกสละราชสมบัติให้ พระอนุชามิคาอิลแทน ในวันที่ 15 มีนาคม แต่ประชาชนก็ไม่ยอมรับเพราะชิงชังราชวงศ์โรมานอฟไปแล้ว
มิคาอิล จึงประกาศว่า เขาจะให้ประชาชนรัสเซียเลือกว่าจะปกครองประเทศรูปแบบใด หลังสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา ยุติราชวงศ์โรมานอฟ และสิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย
แต่ด้วยการที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะสงครามจึงยังเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้รัฐบาลชั่วคราวที่สถาปนาขึ้นหลังการปฏิวัติจึงคุมอำนาจประเทศแทนพระเจ้าซาร์ไปก่อน
กระทั่งเลนินและบอลเชวิค ได้ยึดอำนาจในเดือนตุลาคม 1917 และเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ครอบครัวพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ขึ้นในปีต่อมา วันที่ 17 กรกฎาคม 1918


วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2565

เทวนิยม กับ อเทวนิม

 

บางทีชาวพุทธเองก็แยกไม่ออก  ระหว่างอเทวนิยม กับ  เทวนิยม  


ตัวอย่างเทวนิยม ชัดๆ


https://www.facebook.com/photo/?fbid=298106372410680&set=gm.4412230252211389




ฉันแข็งกร้าว....ฉันอ่อนแอ... ฉันตระหนี่... โอ้อัลลอฮฺโปรดทำให้ฉันอ่อนโยน...โปรดทำให้ฉันแข็งแกร่ง...โปรดทำให้ฉันใจกว้าง




โดรนที่ดูเหมือนเป็นอิสระ ไม่เห็นมีใครมาหิ้วมันให้ลอยบนฟ้า ความจริงแล้วมันถูกควบคุมในสภาพที่ผู้ควบคุมไม่ต้องเข้าไปสัมผัสมันโดยตรง ซึ่งถ้าคนสมัยโบราณได้เห็นโดรนบินอยู่ ก็คงจะคิดว่ามันมีอำนาจในตัวเองตามธรรมชาติ ไม่ต่างจาก นก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯลฯ นั่นเพราะคนสมัยโบราณไม่เข้าใจสภาพการบังคับโดรน

เช่นเดียวกัน อัลลอฮ์ควบคุมดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินให้ดำเนินกิจการไปตามที่พระองค์ทรงประสงค์ เพียงแต่มนุษย์ไม่เข้าใจวิธีการที่อัลลอฮ์ควบคุมสิ่งเหล่านี้เท่านั้นเอง

https://www.facebook.com/AssabiqoonPublisher/photos/a.541436262620246/4795161953914301/


https://www.facebook.com/groups/800582937198178/?hoisted_section_header_type=recently_seen&multi_permalinks=1025620868027716







วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2565

แสงที่เห็นเมื่อหลับตาเมื่อทำสมาธิคืออะไร ?


- ขอเริ่มเรื่องด้วยคำถามว่า แสงที่เห็นเมื่อหลับตาเมื่อทำสมาธิคืออะไร ?

https://dhammachati.blogspot.com/2022/02/blog-post_8.html


- เป็นวิปัสสนูปกิเลสข้อแรกเลย  มันเกิดช่วงที่จิตพอนิ่งๆสงบหน่อย  


- ธรรมุทธัจจ์ ความฟุ้งซ่านธรรม ๑๐


วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสของวิปัสสนา ได้แก่ ธรรมารมณ์อันน่าชื่นชม ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ (บาลีเรียก ธรรมุทธัจจ์ ความฟุ้งซ่านธรรม) มี ๑๐ อย่าง คือ

๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน (โอภาส นี่หลงกันเยอะ)

๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว (สภาวะของปีตินี่พิสดารมากๆ ดูต่างหากข้างท้าย)

๓. ญาณ ญาณหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด

๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆเลย

๕. สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน

๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง

๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด

๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการสุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส




นโยบายคาสิโนถูกกฎหมาย "ก้าวไกล"

คาสิโนถูกกฎหมาย รัฐกำกับดูแล   https://www.facebook.com/photo/?fbid=122209168586084886&set=a.122102046398084886 ส่องแผนกระตุ้นเศรษฐกิจด้...