วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

idol Putin







ปูติน' เปรียบเทียบตัวเองเหมือน 'ปีเตอร์มหาราช' อดีตกษัตริย์รัสเซีย อ้างจุดประสงค์ก่อสงครามยูเครนไม่ต้องการยึดดินแดนคนอื่น แต่เพื่อชิงดินแดนตัวเองคืน และเพื่อปกป้องความมั่นคงของรัสเซีย

นายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ให้ความเห็นล่าสุดเมื่อวานนี้ (9 มิ.ย.) โดยเปรียบการตัดสินใจบุกยูเครนของตัวเองว่า ไม่ต่างกับสมัยที่ซาร์ปีเตอร์มหาราช หรือจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียบุกสวีเดนเมื่อปี ค.ศ. 1700-1721

ผู้นำรัสเซียระบุว่า การที่ซาร์ปีเตอร์มหาราชตัดสินใจประกาศให้นครเซนต์ปีเตอร์เบิร์กเป็นเมืองหลวงของรัสเซีย ในตอนนั้นก็ไม่มีใครยอมรับว่าดินแดนตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทุกคนในสมัยนั้นก็คิดว่าเป็นดินแดนของสวีเดนทั้งสิ้น

ประธานาธิบดีปูตินยังกล่าวถึงสงครามยูเครนอีกว่า เป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้องเอาดินแดนกลับคืนมา และสร้างความแข็งแกร่งอีกครั้ง หลังจากที่รัสเซียผ่านบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ที่ต้องยอมถอย แต่เราต้องเอาความแข็งแกร่งกลับคืนมาและเดินหน้าต่อไป

ขณะที่สถานการณ์ทางภาคตะวันออกของยูเครน ซึ่งเป็นสมรภูมิหลักในขณะนี้ ล่าสุดเมืองเซเวโรโดเนตสค์ ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญถูกกองทัพรัสเซียควบคุมพื้นที่เกือบทั้งหมดแล้ว ขณะที่นายโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนระบุว่า ฝ่ายยูเครนยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ แต่ก็ย้ำว่าการต่อสู้ในเมืองเซเวโรโดเนตสค์ จะเป็นจุดสำคัญที่จะชี้ชะตาภูมิภาคดอนบาสทั้งหมด

https://www.facebook.com/workpointTODAY/photos/a.153956988306921/1943643416004927/

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1703191833360748&set=a.234892240190722

รัสเซีย ยูเครน : "ปีเตอร์มหาราช" ต้นแบบผู้นำจักรวรรดิรัสเซียในอุดมคติของปูติน - BBC News ไทย

https://www.youtube.com/watch?v=PiWuOv1vPbI





สิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟ

ราชวงศ์โรมานอฟ หรือ ‘The House of Romanov’ เป็นราชวงศ์ที่มีความเก่าแก่มากเพราะเป็นราชวงศ์ที่ปกครองรัสเซียนานถึง 304 ปี ซึ่งพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (Nicholas II) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โรมานอฟ และถือเป็นจุดจบระบบราชานิยมในประเทศรัสเซีย

ในปี 1894 รัสเซียสูญเสียพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ในวัย 49 พรรษา ส่งผลให้พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ต้องขึ้นครองราชย์ในเวลาอันรวดเร็ว นักประวัติศาสตร์ต่างพูดถึงพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ว่าทรงเป็นกษัตริย์ที่ไม่ค่อยดีนัก ขาดความเด็ดขาด ไม่มีความเป็นผู้นำ ตัดสินใจพลาดหลายครั้ง และนำรัสเซียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1

พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงอภิเษกกับจักรพรรดินี อเล็กซานดรา เฟโดโอรอฟนา (Alexandra Feodorovna) และให้กำเนิดแกรนด์ดัชเชสทั้ง 4 พระองค์ การให้กำเนิดพระธิดา 4 พระองค์ในเวลาไล่เลี่ยกันส่งผลให้เกิดความเครียดต่อครอบครัวเป็นอย่างมากเนื่องจากขาดผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์ ท้ายที่สุด ทั้งสองก็มีพระโอรสนามว่า อเล็กเซย์ (Alexei) แต่ภายหลังตรวจพบว่าพระโอรสป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลีย (hemophilia) หรือโรคเลือดไหลไม่หยุด ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมของราชวงศ์ยุโรป ขณะที่เพศหญิงมักจะเป็นพาหะโรคเท่านั้น

การที่อเล็กเซย์ป่วยเป็นโรคเลือดไหลไม่หยุดทำให้ครอบครัวนี้ตกอยู่ในความมืดและทุกข์ระทมอีกครั้ง เนื่องจากแกรนด์ดยุคเกือบเสียชีวิตเพราะหกล้มและเลือดไหลไม่หยุดมาหลายต่อหลายครั้ง ดังนั้นราชวงศ์โรมานอฟจึงตัดสินใจเก็บเรื่องนี้เป็นความลับและขังตัวเองอยู่ในวังคอยระวังไม่ให้รัชทายาทได้รับบาดเจ็บ โดยมีข้ารับใช้คอยดูแลตลอดเวลาเพื่อไม่ให้หกล้มหรือมีรอยฟกช้ำ

ต่อมา จักรพรรดินีอเล็กซานดราได้รู้จักกับนักบวชอย่าง กริกอรี รัสปูติน (Grigori Rasputin) ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหายนะราชวงศ์โรมานอฟ เพราะรัสปูตินสามารถบรรเทาอาการป่วยให้รัชทายาทได้ ดังนั้นรัสปูตินจึงมีอิทธิพลต่อจักรพรรดินีอเล็กซานดราเป็นอย่างมาก เพราะเขาเป็นคนเดียวที่สามารถรักษาชีวิตรัชทายาทได้ ภายหลังพระเจ้าซาร์อนุญาตให้รัสปูตินเข้ามาอาศัยในราชวังได้ นับจากวันนั้นราชวังก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปราวกับว่าราชสำนักถูกผูกขาดการตัดสินใจไว้ในมือของจักรพรรดินีอเล็กซานดราและรัสปูติน โดยพระเจ้าซาร์แทบไม่สามารถควบคุมหรือตัดสินใจอะไรเองได้แม้กระทั่งยามสงคราม นอกจากนี้จักรพรรดินีอเล็กซานดรายังควบคุมพระเจ้าซาร์ผ่านทางจดหมายโดยอ้างคำสั่งจากรัสปูตินอีกด้วย

ขณะนั้นเองเป็นช่วงเวลาที่รัสเซียทำสงครามกับญี่ปุ่น และพ่ายแพ้ให้ญี่ปุ่น ประชาชนต้องอยู่ในสภาวะสงคราม ประกอบกับสภาพอากาศที่ย่ำแย่ จึงเกิดความทุกข์ยากลำบากเป็นอย่างมาก ในปี 1905 จึงเกิดการปฏิวัติของประชาชนขึ้น โดยประชาชนได้รวมตัวกันในวันอาทิตย์เพื่อเสนอข้อเรียกร้องต่อพระเจ้าซาร์ แต่พระเจ้าซาร์กลับให้ทหารยิงปืนใส่ประชาชน ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า ‘Bloody Sunday’

หลังจากการตัดสินใจผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าของพระเจ้าซาร์ และเขาตัดสินใจนำประเทศรัสเซียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งผลให้ประชาชนขาดอาหาร อดอยาก และสภาพอากาศที่เลวร้ายส่งผลต่อการทำเกษตรกรรม ในขณะที่คนในราชวงศ์ และเจ้าขุนมูลนายต่างๆ ต่างสุขสบายไม่ขาดอาหารการกิน แต่ประชาชนกลับต้องอดอยากและล้มตายเรื่อยๆ นอกจากนี้คนในราชสำนักยังเชื่อฟังนักบวชอย่างรัสปูตินเป็นอย่างดี จนภายหลังมีผู้อาสากำจัดรัสปูตินให้แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายได้

ในปี 1917 การปฏิวัติได้ก่อตัวขึ้นโดยมี วลาดีเมียร์ เลนิน (Vladumir Lenin) เป็นผู้นำการปฏิวัติจากพรรคบอลเชวิค (BolSevic) ทำการปฏิวัติประเทศโดยเปลี่ยนจักรวรรดิรัสเซียมาเป็น ‘สหภาพโซเวียต’ และปกครองโดยระบบคอมมิวนิสต์ โดยมีค้อนและเคียวเป็นสัญลักษณ์แทนความยากจน และการถูกกดขี่ของประชาชน
หลังจากการชุมนุมขับไล่ซาร์ และราชวงศ์โรมานอฟ ส่งผลให้พระเจ้าซาร์ประกาศสละราชบัลลังก์ และถูกนำตัวไปกุมขังที่ คฤหาสน์อิปาเตียฟ (Ipatiev House)

17 กรกฎาคม 1918 กลางดึกวันนั้นมีคำสั่งประหารชีวิตทั้งครอบครัวที่ห้องใต้ดิน โดยจักรพรรดินีอเล็กซานดรา และแกรนด์ดัชเชสล้วนใส่เครื่องเพชรเย็บติดกับชุดโดยหวังว่าจะเป็นเงินใช้จ่ายยามที่หลบหนีได้ แต่เครื่องเพชรเหล่านี้ได้กลายเป็นเกราะกันกระสุน ดังนั้น จึงเกิดการกระหน่ำกระสุนยิงซ้ำๆ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนเสียชีวิตแล้วจริงๆ วันดังกล่าวจึงถือเป็นจุดสิ้นสุดระบบราชานิยมในประเทศรัสเซีย

https://www.facebook.com/photo/?fbid=5389605431153914&set=a.408395959274911




ลุงยามคงจะเจ็บปวดหัวใจหนักขึ้นไปอีก เพราะเชียร์ปูตินกับจีน จนปวดเหงือก อ๋อ...รวมทั้งช่องข่าวมโนด้วยนะครับ ที่บอกว่าการมาเยือนของโจ ไบเดน ที่ซาอุดิอาระเบีย มันไร้ประโยชน์

ข่าวจริงตามนี้นะครับ และจะมีประโยชน์ต่อประเทศไทยมาก

1.หลังจากโจ ไบเดน ได้พูดคุยกับมงกุฏราชกุมารของซาอุดิอาระเบีย ในการเดินทางมาเยือนอิสราเอล แค่เพียงวันเดียว ซาอุดิอารเบีย ก็ประกาศให้ทุกสายการบินทุกชาติ สามารถบินผ่านน่านฟ้าของซาอุดิอาระเบียได้ ไม่เว้นแม้แต่สายการบินของอิสราเอล ที่รัฐบาลอิสราเอลมีปัญหากับซาอุดิอาระเบียมานาน เรื่องปัญหาชาวปาเลนสไตร์ แต่สุดท้ายซาอุดิอาระเบีย ก็ยินดีเปิดน่านฟ้าให้อิสราเอลบินผ่านได้แบบฉลุย

2.หลังการเข้าพบกันของโจ ไบเดน กับมงกุฏราชกุมารของซาอุดิอาระเบีย ในที่สุด ซาอุอาระเบียก็ยินดีที่จะผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงวันละ 15 ล้านบาเรลต่อวัน ตามที่โจ ไบเดน ร้องขอไป จากที่เคยผลิตเพียงวันละแค่ 3 ล้านบาเรลต่อวัน แสดงว่าซาอุฯยินดีผลิตให้เพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า เพื่อช่วยลดปัญหาราคาน้ำมันแพงในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

3.ตกลงทำสัญญาเห็นชอบ ที่จะร่วมกับสหรัฐอเมริกากับอิสราเอล ในการต่อต้านประเทศอิหร่าน เรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์

และ 4. นโยบายการร่วมมือกันสร้าง NATO ในชาติตะวันออกกลาง มีแนวโน้มว่า อาจจะเกิดขึ้นจริง โดยมี ซาอุดิอาระเบีย อิรัก คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรต และ บาเรน เป็นกลุ่มประเทศแรก ที่จะร่วมกันสร้าง NATO ในตะวันออกกลางขึ้นมา

ทั้งหมดผลประโยชน์ลงตัวเรียบร้อย เมื่อเคลียร์ใจกันจบ รวมไปถึงการที่โจ ไบเดน รับปากจะขายอาวุธที่ทันสมัยที่สุดให้กับซาอุดิอาระเบีย และพร้อมกลับมาติดตั้งเครื่องป้องกันขีปนาวุธจากอิหร่าน ในส่วนที่สำคัญทั้งหมด พร้อมยินดีมอบส่งอาวุธเลเซอร์ยิงทำลายขีปนาวุธทางอากาศให้ด้วย และเครื่องบินรบล่องหนฝูงใหญ่

จบเกมของปูตินกับสีจิ้นผิง อิหร่านและซีเรีย รวมไปถึงกลุ่มประเทศ BRICS ของลุงยามแก่ ที่ฝันกลางวันมาตลอด

เป็นโอกาสดีของประเทศไทย ที่จะได้สานสัมพันกับชาติตะวันออกขึ้นมาอีกครั้ง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทย สินค้าส่งออกอีกหลายชนิด และ แรงงานคุณภาพดีของคนไทย ที่จะถูกส่งไปทำงานที่ชาติตะวันออกกลางอีกครั้ง

ผมไม่ได้เชียร์สหรัฐอเมริกา แต่ยืนอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริงในปัจจุบัน ที่ไม่ใช้การใช้น้ำลายมโนไปได้เรื่อยเปื่อย.

เดชา  นฤนารถ


ช่องอวยจีน-รัสเซีย ว่า

ไบเดน-ซาอุ" ไร้ข้อตกลง

1.“ไบเดน” กลับบ้านแบบไร้ข้อตกลง ซาอุฯ ย้ำผลิตน้ำมันสูงสุดได้ 13 ล้านบาร์เรล/วัน

https://www.youtube.com/watch?v=r_vQ4KLapCc




















งดใช้บริการ

  https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3724456 https://www.facebook.com/photo/?fbid=491527119790156&set=a.433526435590225 https:...