วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ประวัติอิสลามโดยละเอียด 3

ต่อ

ในสมัยคอลีฟะ อุมัร ผู้ปกครอง คนที่ 2 ของอาณาจักรอิสลามโดยแต่งตั้งให้มุอาวียะฮ์ (Muaviyah) เป็นผู้ปกครองแคว้นดามัสกัสในซีเรีย แคว้นนี้ ได้ถูกกองทัพทางเอเชียกลางคุกคาม เลยไปจนถึงเกาะไซปรัสของกรีก ขณะเดียวกันได้ผนวกอัฟกานิสถาน เตอร์กิสถาน โคราซาน อาร์มาเนีย อาเซอร์-ไบจาน และบริเวณเอเชียกลาง จึงกลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรอิสลาม เมื่อคอลีฟะอุสมานถูกฆาตกรรม และอาลี ซึ่งเป็นผู้ปกครองต่อมาไม่สามารถหาคนผิดมาลงโทษได้

มุอาวียะฮ์ที่ดามัสกัสในซีเรีย จึงแยกตัวตั้งตนเป็นคอลีฟะ และเป็นการกําเนิดรูปแบบในการปกครองแบบใหม่ คือ เป็นรัฐอิสลามที่ปกครองโดยการสืบสายโลหิตเป็นราชวงศ์แรก ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ มีผู้ปกครองสืบทอดกันมา 14 คน เป็นสมัยที่มีการขยายดินแดนกว้างขวางมาก

สมัยมุอาวียะฮ์ ได้พิชิตแอฟริกาเหนือ โจมตีพวกเบอร์ เบอร์ (Berber) สะมาคาน (Samarkarnd) และเมืองอื่นๆในเอเชียกลาง ส่งทัพไปตีเมืองคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของไบแซนไตน์ แต่ไม่สำเร็จ ในสมัยคอลีฟะ อับดุล มาลิกของราชวงศ์นี้ มีการสร้างมัสยิดที่งดงาม ที่ชื่อโดมออฟเธอะร็อก 2 (Dome of the Rock) ที่กรุงเยรูซาเล็ม

ต่อมาสมัย คอลีฟะวะลีด ที่ 1 ได้ขยายอาณาเขตไปทั้งทางตะวันตก และทางตะวันออก ได้เอเชียกลางและแคว้นสินธุของอินเดีย ได้พิชิตเอเชียกลาง

ใน ค.ศ. 714 บุกเตอร์กิสถานของจีน พิชิตแอฟริกาโดยมีชัยชนะต่อพวกเบอร์ขยายดินแดนไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้สเปน แม่ทัพของราชวงศ์นี้ นําทหารยึดป้อมยิบรอลตา และ กรานาดา (Granada) เมืองคอร์โด วา (Cordova) และ โตเลโด (Toledo) ต่อมา ยึดเมืองซารากอสซา (Saragossa) เทอราโกนา (Terragona) และ บาร์เซโลนา (Barcalona) ได้

ใน ค.ศ. 719 แม่ทัพมุสลิมในสเปน ได้ยกทัพเข้าไปในฝรั่งเศส เพื่อปราบกบฏ ทัพมุสลิมข้ามเทือกเขาพิเรนัส (Pyrenees) ไปยึดจังหวัดทางภาคใต้ของฝรั่งเศส เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรง ที่เมืองตูลูส (Toulouse) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นอควิเตน (Aquitaine)

ใน ค.ศ.735 แม่ทัพมุสลิมในสเปน ได้ยึดเมืองซาร์ดิเนีย (Sardinia) บุกซิซีลี (Sicily) และซีราคิวส์ (Syracuse) จน ต้องยอมแพ้ และจ่ายบรรณาการให้แก่พวกมุสลิม

ต่อมากองทัพมุสลิม บุกเข้าไปทางเหนือ และยึดได้ดินแดนไปจนถึงเมืองปอยเตียร์ (Pointier) กองทัพฝรั่งเศสได้ยกมาปะทะ กับ กองทัพมุสลิม ระหว่างเมืองตูร์ (Tour) กับ ปอยเตียร์ และมุสลิมเป็นฝ่ายแพ้

จะเห็นได้ว่า ในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์นี้ อํานาจของพวกอาหรับ ได้แผ่ขยายไปในทิศตะวันตกจนถึงชายแดนของ ประเทศฝรั่งเศส และทางตะวันออกจนจดแผ่ขยายไปในทิศตะวันตกจนถึงชายแดนของประเทศฝรั่งเศสและทาง ตะวันแคว้นสินธุในอินเดีย

ค.ศ.1055 เมื่อพวกเซลจูคเติร์กเปอร์เชีย เข้ามายึดครองเมืองแบกแดด พวกสุลต่านไม่ได้ปฏิบัติต่อชาวคริสเตียนเหมือนเช่นเคย เริ่มมีการกดขี่ข่มเหงชาวคริสต์ไปทั่ว

พวกคริสเตียนในยุโรปจึงโกรธมาก ต่อมาชาวเติร์กเปอร์เชียได้อพยพเข้าไปยึดครองกรุงเยซูซาเล็มของอาณาจักรไบเนไทน์

จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิไบเซนไทน์ เรียกร้องขอความช่วยเหลือไปยังยุโรป เพื่อร่วมกันต่อต้านการคุกคามของมุสลิมเติร์กเปอร์เชีย ที่กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนยุโรป และได้เข้ายึดครองนครเยรูซาเลม ดินแดนอันศักดิ์สิทธิของชาวคริสต์

ข้อเรียกร้องดังกล่าว ได้รับการยอมรับกันเป็นอย่างดีจากพระสันตปาปาเออร์บับที่ 2 (Urban II) พระองค์ได้ทรงเรียกร้องให้ผู้นำยุโรปในขณะนั้น ร่วมมือกันขับไล่มุสลิมเติร์กเปอร์เชียออกจากนครเยรูซาเลม จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 โดยหาทราบไม่ว่า การเรียกร้องของพระองค์จะเป็น “การชักศึกเข้าบ้าน” และนำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรของพระองค์เองในที่สุด

ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 กาหลิบอูมาร์ (Umar) แห่งอียิปต์ ได้ยึดครองนครเยรูซาเล็มจากชาวคริสเตียนชาวคริสต์ในซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1071 กลุ่มสมาพันธ์ของชนเทอร์โคมันของทางตอนกลางของเอเชีย เป็นเผ่าเซลจุคเติร์กเชื้อสายอิหร่านจากเอเชียตะวันตก ได้เริ่มรุกรานเข้ามายังที่ราบอานาโตเลีย ดินแดนภายใต้การปกครองของไบเซนไทน์ เมื่อนครเยรูซาเลมถูกกลั่นแกล้งรังควานอย่างหนักจากชาวมุสลิม การคงอยู่ของอาณาจักรเซลจูกเติร์กเป็นภัยต่อคริสตศาสนิกชนผู้ไปแสวงบุญที่นครเยรูซาเลม

จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ จึงส่งสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากสันตะปาปาเออร์บานที่ 2 ให้ส่งกองทัพคริสเตียนไปช่วยปราบมุสลิม และ

นี่ล่ะครับ เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสดครั้งที่ 1 เมื่อ ค.ศ.1096 สมรภูมิเมือง Malazgirt (ยุทธการที่เมืองแมนซีเคิร์ต) สุลต่าน Alparslan ผู้นำชาวเติร์กเผ่าเซลจุค สามารถเอาชนะกองทัพของจักรพรรดิโรมันนุสที่ 4 ของไบเซนไทน์ได้ จึงสถาปนาอาณาจักรสุลต่านแห่งรูนขึ้นในตอนกลางของดินแดนอนาโตเลีย รัฐสุลต่านรูมมีความรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13

เมื่อยึดเมืองท่าสำคัญบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบนฝั่งทะเลดำจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ ภายในอานาโตเลีย เซลจุคก็ทำการค้าขายโดยใช้ระบบสถานีคาราวาน (caravanserai) โดยการตั้งที่พักผู้ขนย้ายสินค้าเป็นระยะๆ ที่เป็นการช่วยให้ความสะดวกแก่การขนย้ายสินค้าจากอิหร่านและเอเชียกลางไปยังเมืองท่าต่างๆ

รัฐสุลต่านรูม มีความสัมพันธ์ทางการค้าที่แน่นหนากับสาธารณรัฐเจนัวที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ในยุคนี้ ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นทำให้เซลจุคสามารถผนวกรัฐต่างๆ ในตุรกีที่ก่อตั้งขึ้นทางตะวันออกได้ หลังจากยุทธการมันซิเคิร์ต (Battle of Manzikert) ที่รวมทั้งดินแดนของดานิชเมนด์ส (Danishmends), เมงกือเซ็ค (Mengücek), ซัลตุคลุ (Saltuklu) และ อาร์ตูคลุ (Artuklu)

สุลต่านเซลจุคสามารถต่อต้านนักรบครูเสดโรมันแคทรอลิคฝ่ายคริสต์จักรไว้ได้หลายครั้งและได้เปิดทางให้ชาวเติร์กจากเอเชียกลางเชื้อสายอิหร่าน และผู้นับถืออิสลามเผ่าอื่นๆได้หลั่งไหลเพิ่มเข้าสู่อานาโตเลียเป็นจำนวนมาก








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งดใช้บริการ

  https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3724456 https://www.facebook.com/photo/?fbid=491527119790156&set=a.433526435590225 https:...