วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ประวัติอิสลามโดยละเอียด 4



ต่อ


ในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1096 แท้จริงแล้วมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อขับไล่ชาวเติร์กออกจากนครเยรูซาเลม แต่กลับเป็นการนำพานักรบศาสนาจากเอเชียกลางและอาหรับให้เข้ามาในดินแดนอนาโตเลียเป็นจำนวนมาก

ระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 4 กองทหารครูเสด แทนที่จะพยายามบุกยึดนครเยรูซาเลมคืนจากมุสลิมเติร์กชาวแซกซอนคริสต์เหล่านั้น กลับบุกเข้าปล้นนครคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 1204 และได้แบ่งแยกดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ออกเป็นหลายส่วนเพื่อปกครองกันเอง

เชื้อพระวงค์ในไบเซนไทน์ ซึ่งเสด็จลี้ภัยไปอยู่ที่เมือง Nicaea ทางตะวันตกของอานาโตเลีย ต้องใช้เวลานานเกือบ 60 ปี จึงสามารถยึดนครคอนสแตนติโนเปิลกลับคืนมาได้ แต่อาณาจักรไบเซนไทน์ก็ตกอยู่ในสภาวะที่เสื่อมโทรมอย่างหนัก

ชนเชื้อสายเติร์กได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของอานาโตเลีย ชาวเติร์กที่ขยายตัวเข้ามา เซลจุคก็รับวัฒนธรรมและภาษาเข้ามาเป็นของตนเอง และมีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการของวัฒนธรรมเทอร์โค-เปอร์เชีย

ในปัจจุบันเซลจุคเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์อันยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรม, ศิลปะ, วรรณคดี และภาษาเปอร์เชีย และบางคนก็ถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษ ผู้นำทางวัฒนธรรมของเติร์กตะวันตก ผู้ที่ในปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาเซอร์ไบจาน, ตุรกี และเติร์กเมนิสถาน ที่มีอำนาจครอบครองอาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ตั้งแต่เทือกเขาฮินดูกูช ไปถึงทางตะวันออกของที่ราบสูงอนาโตเลียและเอเชียกลางไปจนถึงอ่าวเปอร์เซีย

เซลจุคตั้งต้นมาจากดินแดนถิ่นกำเนิดใกล้ทะเลอารัล และขยายอำนาจไปยังเกรตเตอร์โคราซาน และต่อไปยังเกรตเตอร์ อิหร่าน ก่อนจะไปสิ้นสุดลงที่ทางตะวันออกของอนาโตเลีย และบางส่วนของทวีปเอเชียกลางและตะวันออกกลาง ราชวงค์เซลจุคเปอร์เชียปกครองอนาโตเลียอยู่ระหว่างปีคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14

ใน ค.ศ. 1219 เจงกิสข่านในวัย 58 ชันษาประสบความสำเร็จทั้งทางทหารและการค้า กองทัพมองโกลมีศักยภาพสูงและไร้คู่ต่อกร เจงกิสข่านรวมทุกชนเผ่าในทุ่งหญ้าสเตปป์ของมองโกเลีย ครอบครองบริเวณมณฑลกานซู่ และภาคเหนือของจีน ความมั่งคั่งของอาณาจักรที่เพียรสร้างมานี้มากพอให้พระองค์และทายาทใช้ชีวิตอย่างสุขสบายตราบที่ราชตระกูลของท่านยังรักษาไว้ได้ และหากเป็นตามนั้น โลกก็จะไม่รู้จักความน่ากลัวของทัพม้ามองโกล

แต่อะไรคือสาเหตุที่ทำให้กองทัพของเจงกิสข่านตะลุยออกไปทำลายแหล่งอารยธรรมอันเก่าแก่ทางตะวันตก ตั้งแต่เอเชียกลางไปถึงยุโรปตะวันออก ดูเหมือนมหันตภัยที่มองโกลนำไปนี้ มีต้นเหตุจากการขาดความยั้งคิดของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น การได้อาณาจักรแถบกานซู่เป็นรัฐในอาณัติ ทำให้ท่านข่านสามารถคุมเส้นทางสายไหม แนวการค้าทางบกที่สำคัญระหว่างจีน กับ มุสลิมได้อย่างสมบูรณ์
การได้ควบคุมสินค้าปริมาณมหาศาลจากจีนทำให้ท่านเห็นเป็นโอกาสที่จะค้าขายกับอาณาจักรมุสลิมทางตะวันตก ซึ่งมีดินแดนกว้างใหญ่ระหว่างทะเลดำ และเทือกเขาในอัฟกานิสถาน อันเป็นที่ตั้งของจักรวรรดิมุสลิมเติร์กที่ร่ำรวย ชื่อ ควาเรซ (Khwarazmian Empire) หรือ คีวา-ควาราสเมีย (ฮัวลาจื่อหม่อ) ปกครองโดยสุลต่านโมฮัมเหม็ดที่ 2 (Ala ad-Din Muhammad II)

จักรวรรดิควาเรซ มีอายุมากกว่าชาติมองโกลไม่นาน และถูกพูดถึงไม่มากนักเมื่อเทียบกับรัฐคอลีฟะฮ์ที่มีศูนย์กลางในนครแบกแดด แต่รัฐมุสลิมทั้งหลายในศตวรรษที่ 13 ประกอบด้วยอารยธรรมอาหรับเติร์ก เปอร์เซีย ที่ทั้งร่ำรวยและรอบรู้ในวิทยาการ ชาวมุสลิมจึงเข้าใกล้ความเป็นอารยธรรมระดับโลกอย่างมาก ด้วยความตั้งใจแสวงหาความมั่งคั่งจากภายนอก

เจงกิสข่านผันตัวจากกษัตริย์นักรบเป็นผู้ปกครองนักค้า ท่านข่านจึงส่งทูตไปหาสุลต่านแห่งจักรวรรดิควาเรซ เพื่อขอทำสัญญาการค้าอย่างเป็นทางการเปตีส์

นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้อธิบายว่า จักรพรรดิพระองค์นี้ไม่มีอะไรต้องกริ่งเกรง ไม่ว่าจากตะวันออก ตะวันตก หรือตอนเหนือของเอเชีย ทรงพยายามสร้างมิตรภาพอย่างจริงใจ กับ กษัตริย์แห่งควาเรซ
ดังนั้น ในครึ่งหลังของปี 1217 องค์จักรพรรดิจึงส่งทูตสามคน พร้อมกับของกำนันไปยังพระองค์เพื่อร้องขอให้ประชาชนของพวกเขาสามารถค้าขายร่วมกันอย่างปลอดภัยและร่วมมือกันอย่างสมบูรณ์ เพื่อความสงบสุขและความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นคำอำนวยพรอันยอดปรารถนาสำหรับอาณาจักรทั้งปวง

เจงกิสข่าน มีพระราชสาส์นถึงสุลต่านว่า “ข้ามีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะอยู่ร่วมกับเจ้าอย่างสันติ ข้าจะปฏิบัติต่อเจ้าเหมือนเป็นบุตรของข้า สำหรับเจ้าแล้วไม่ต้องกังวลแต่อย่างใดที่ข้าได้พิชิตตอนเหนือของจีนและปกครองทุกชนเผ่าทางตอนเหนือ เจ้ารู้ดีว่าประเทศของข้าเป็นแหล่งรวมของเหล่านักรบ เป็นเหมืองแร่เงิน และข้าไม่มีความจำเป็นที่จะละโมบแผ่นดินอื่น เรามีผลประโยชน์เท่าเทียมกันในการส่งเสริมการค้าระหว่างผู้ใต้ปกครองของเรา”

จะเห็นว่าในการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้านี้ เจงกีสข่านวางพระองค์อยู่เหนือสุลต่านตามแนวคิดจักรพรรดิผู้มีอำนาจเหนือกษัตริย์ทั้งปวง แต่ก็แสดงเจตนาใฝ่สันติชัดเจน สุลต่านต้อนรับทูตมองโกลอย่างไม่ค่อยเต็มพระทัยนัก และทรงหวาดระแวงในการค้าระหว่างสองจักรวรรดิ

จากนั้น เจงกิสข่านจึงมอบหมายให้พ่อค้ามุสลิมและฮินดูในดินแดนของท่านเองเดินทางไปควาเรซ เพราะคนเหล่านี้เก่งกาจเรื่องค้าขายมากกว่าชาวมองโกล ในคาราวานบรรทุกสิ่งของหรูหรา อย่างผ้าหนังอูฐขาว ผ้าไหมจีน เงินแท่ง และหยกดิบ เมื่อคาราวานพ่อค้าและผู้ติดตาม 450 คนจากจักรวรรดิมองโกลเคลื่อนสู่มณฑลออตราร์พรมแดนของจักรวรรดิควาเรซ กลับเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น ข้าหลวงของมณฑลซึ่งเป็นอาแท้ๆ ของสุลต่านโมฮัมเหม็ดที่ 2 ซึ่งเป็นคนเย่อหยิ่งและละโมบได้ยึดสินค้า และสังหารคณะพ่อค้าทั้งหมด และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นหายนะของจักรวรรดิควาเรซ

หลังเจงกิสข่าน ทราบข่าวการสังหารหมู่ ท่านข่านส่งทูตไปเรียกร้องให้สุลต่านลงโทษขุนนางผู้ก่อการ แต่เป็นที่รู้ว่าขุนนางผู้นั้นคือปิตุลา (อา) ของสุลต่านเอง ผลคือสุลต่านโมฮัมเหม็ดที่ 2 ส่งสาสน์ด่าทอเจงกิสข่านกลับด้วยถ้อยคำรุนแรงและหยิ่งยะโส หนึ่งในทูตถูกสังหารและอีกคนถูกทรมานก่อนส่งกลับมองโกล

เจงกิสข่าน พิโรจน์ด้วยความแค้นอย่างหนัก ไม่เหลือความเมตตาปราณีใดใดในจิตใจ จอมข่านหมายมั่นบดขยี้จักรวรรดิควาเรซให้หายไปจากแผ่นดิน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งดใช้บริการ

  https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3724456 https://www.facebook.com/photo/?fbid=491527119790156&set=a.433526435590225 https:...